ในยุคปัจจุบัน เราคงเคยได้ยินกันมานักต่อนักแล้ว เกี่ยวกับการต้อสู้เพื่อความเท่าเทียมเสมอภาคในเรื่องต่างๆ ของคนทุกเพศ รวมไปถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ใครบ้างที่จะรู้ว่ากว่าจะมาถึงจุดที่เริ่มมีการยอมรับมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน พวกเขาเหล่านี้นี้ต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง?
LGBTQIA+ หรือเรียกอีกอย่างว่า ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์ เควียร์ ที่ไม่ใช่กลุ่มเพศตามเพศสภาพ เคยเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่ให้อยู่ภายใต้กฎหมายข้อบังคับและบทลงโทษ ไม่ว่าจะเรื่องความรักในเพศเดียวกัน การแต่งกายไม่ตรงตามเพศถือว่าผิดต่อสังคม หรือการเปิดเผยเพศทางเลือกในที่สาธารณะเหมือนกับว่าพวกเขาเป็นผู้ร้ายตัวฉกาจ จนในปี ค.ศ.1679 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ จนนำไปสู่การยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ และในปีถัดมาเริ่มมีการเดินขบวนแสดงจุดยืนรำลึกถึงเหตุการณ์ Stonewall ตามเมืองใหญ่ทั่วโลกในเดือนมิถุนายน
🏳️🌈 สัญลักษณ์ธงสีรุ้งถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ LGBTQIA+ โดย กิลเบิร์ท เบเกอร์ ศิลปินจากซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ เป็นผู้ออกแบบ และถูกนำมาโบกสะบัดครั้งแรกเมื่อ 25 มิ.ย. ค.ศ. 1978 ในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ใน San Francisco Gay Freedom Day Parade ขบวนพาเหรดเพื่อระลึกถึง ฮาร์วีร์ มิลค์ นักการเมืองชาวเกย์ที่ถูกฆาตกรรม
☮️ หนึ่งปีหลังจากเกิดเหตุ มีการเดินขบวนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศครั้งแรกในนิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และชิคาโก และมีการเดินขบวนในอีกหลายแห่งทั่วโลกตามมา ปัจจุบัน หลายๆ ประเทศต่างก็เฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจนี้ในเดือนมิถุนายน เพื่อเป็นการสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพของกลุ่ม LGBTQIA+
✨ ถ้าหากเราไม่ได้เข้าร่วมขบวน แต่อยากสนันสนุนสิทธิและเสรีภาพ มีวิธีการใดบ้าง? ที่สามารถแสดงจุดยืนได้ ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ได้
สนันสนุนองค์กร LGBTQIA+
ติดสติ๊กเกอร์ธงสีรุ้งที่รถยนต์
แต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าเครื่องประดับสีรุ้ง
เปลี่ยนพื้นหลังจอการประชุมออนไลน์ให้เป็นธงสีรุ้ง